Archive for the ‘ไม้ดอกไม้ประดับ’ Category

พืชไร่ ไม้ดอก : ระวังโรคที่มากับความหนาว

January 15, 2009

หย่อมความกดอากาศสูงจากจีนเคลื่อนแผ่เข้าสู่ประเทศเวียดนาม ทำให้ภาคอีสานตอนบนของไทยได้รับอิทธิพลจากอากาศที่หนาวเย็นด้วย อุณหภูมิที่ต่ำดูดซับความชื้นจาก พื้นดิน ห้วย หนอง คลอง บึง ส่งผลให้เกิดหมอกซึ่งเป็นไอน้ำที่มีโมเลกุลขนาดเล็ก สามารถที่จะเกาะติดสัมผัสกับพืชผัก พืชไร่ไม้ดอกที่เถาหรือลำต้นมีขนเล็กละเอียดได้ง่าย อย่างเช่น พืชตระกูลแตง ดาวเรือง เบญจมาศ กระเจี๊ยบ ฯลฯ

ความชื้นเมื่อมีมากขึ้นทำให้สปอร์ของเชื้อราในอากาศส่วนหนึ่งมีน้ำหนักเพิ่ม ตกหล่นลงมาและเจริญเติบโตบนใบพืช ความชื้นทำให้เอื้อต่อการเจริญเติบโตของสปอร์ ทำให้เกิดโรคที่มีสาหตุจากเชื้อราต่าง ๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็น ราน้ำค้าง ราดำ ราจุดและราสนิม ซึ่งส่งผลให้ทำให้ใบด่าง ใบดำ ใบผุ ขอบใบไหม้ แตกต่างกันไปตามลักษณะของการเข้าทำลายของเชื้อราชนิดต่าง ๆ

การแก้ปัญหาอย่างง่าย  ให้ใช้ ฟังก์กัสเคลียร์ (ผงจุลสีที่ใช้กำจัดตระไคร่ในสระว่ายน้ำ แคลเซียม แมงกานีส ซิลิสิค แอซิด) 2 กรัมร่วมกับ แซนโธไนท์ (สารสกัดจากเปลือกมังคุด)  2 ซี.ซี. ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นให้เปียกชุ่มโชกทั้งใต้ใบบนใบ เพื่อล้างใบและทำลายสปอร์ของเชื้อราตั้งแต่เริ่มแรก มิให้ลุกลามแผ่ขยายเป็นวงกว้างออกไป และในกรณีที่มีการลุกลามและมีการเข้าทำลายของเชื้อราจนเกิดโรคแล้ว สามารถใช้เชื้อบีเอสพลายแก้ว 5 กรัม หมักกับน้ำมะพร้าวอ่อน 1 ผลหรือนมรสหวาน ยูเฮชทีหรือ นมถั่วเหลือง 1 กล่อง หรือใช้อย่างใดอย่างหนึ่ง หมักทิ้งไว้ 24 – 48 ชั่วโมง นำมาผสมน้ำ 20 ลิตรฉีดพ่น สลับกับไตรโคเดอร์ม่าละเอียด ก็ช่วยรักษาโรคที่มากับความหนาวได้ดี

 

มนตรี  บุญจรัส

ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ  www.thaigreenagro.com

การใช้โพลิเมอร์กับไม้เพาะชำไม้กระถาง

January 15, 2009

ไม้ดอกไม้ประดับ ไม้กระถาง ไม้ชำต่าง ๆ มักจะมีปัญหาเรื่องการให้น้ำ เนื่องมาจากปริมาณวัสดุปลูกที่มีอยู่จำกัด ปริมาณน้อยตามขนาดของกระถางหรือถุงเพาะชำ ทำให้การดูดซับกักเก็บน้ำมีประสิทธิภาพน้อยตามลงไปด้วย เมื่อรดน้ำก็จะไหลซึมผ่านวัสดุปลูกออกนอกถุงไม่สามารถเก็บน้ำไว้ได้มากนัก ส่งผลทำให้การใช้น้ำค่อนข้างจะสิ้นเปลือง เพราะต้องคอยรดน้ำอยู่บ่อยๆ ทำให้สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในเรื่องน้ำอย่างมากมาย หรือจะใช้ถาดรองไว้ด้านล่างก็ต้องรดน้ำในปริมาณที่มาก และเมื่อน้ำส่วนเกินขังที่ถาดรองก็จะทำให้เกิดยุงแพร่ระบาดก่อให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ตามมาอีกมากมาย

การแก้ปัญหาควรปรับปรุงดินและวัสดุปลูกให้มีความสามารถในการอุ้มน้ำได้มากขึ้น โดยการนำดินที่ผสมตามสูตรเดิมคือพยามหาส่วนประกอบหรือสูตรที่มี ดิน อินทรีย์วัตถุและภูไมท์หรือภูไมท์ซัลเฟตร่วมอยู่ด้วยประมาณ 5-6 ส่วนคลุกผสมร่วมกับโพลิเมอร์ที่แช่จนพองตัวเต็มที่แล้ว (โพลิเมอร์1 กิโลกรัม สามารถพองขยายตัวได้ประมาณ 200 เท่า) อีก 1 ส่วน คลุกเคล้าให้เข้ากันก่อนที่จะนำไปใส่กระถางหรือถุงชำ เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับปลูก

ผลที่ได้รับจะทำให้อัตราการรอดสูง การเจริญเติบโตมีความสม่ำเสมอ รากจะเจริญเติบโตมากขึ้นโดยเฉพาะในระดับชั้นที่มีโพลิเมอร์คลุกผสมเพราะได้รับอย่างเพียงพอและต่อเนื่อง  เวลาจะถอนไปปลูกหรือชำต่อก็ง่ายสะดวกสบาย ประหยัดค่าแรงงานและค่าน้ำ พืชงามทนเหมาะสำหรับ ไม้ดอกไม้ประดับ ไม้ใบ ปาล์ม ยาง ไม้ผล ต่างๆ

 

มนตรี   บุญจรัส

ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ www.thaigreenagro.com

พืชไร่ ไม้ดอก : ระวังโรคที่มากับความหนาว

January 15, 2009

หย่อมความกดอากาศสูงจากจีนเคลื่อนแผ่เข้าสู่ประเทศเวียดนาม ทำให้ภาคอีสานตอนบนของไทยได้รับอิทธิพลจากอากาศที่หนาวเย็นด้วย อุณหภูมิที่ต่ำดูดซับความชื้นจาก พื้นดิน ห้วย หนอง คลอง บึง ส่งผลให้เกิดหมอกซึ่งเป็นไอน้ำที่มีโมเลกุลขนาดเล็ก สามารถที่จะเกาะติดสัมผัสกับพืชผัก พืชไร่ไม้ดอกที่เถาหรือลำต้นมีขนเล็กละเอียดได้ง่าย อย่างเช่น พืชตระกูลแตง ดาวเรือง เบญจมาศ กระเจี๊ยบ ฯลฯ

ความชื้นเมื่อมีมากขึ้นทำให้สปอร์ของเชื้อราในอากาศส่วนหนึ่งมีน้ำหนักเพิ่ม ตกหล่นลงมาและเจริญเติบโตบนใบพืช ความชื้นทำให้เอื้อต่อการเจริญเติบโตของสปอร์ ทำให้เกิดโรคที่มีสาหตุจากเชื้อราต่าง ๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็น ราน้ำค้าง ราดำ ราจุดและราสนิม ซึ่งส่งผลให้ทำให้ใบด่าง ใบดำ ใบผุ ขอบใบไหม้ แตกต่างกันไปตามลักษณะของการเข้าทำลายของเชื้อราชนิดต่าง ๆ

การแก้ปัญหาอย่างง่าย  ให้ใช้ ฟังก์กัสเคลียร์ (ผงจุลสีที่ใช้กำจัดตระไคร่ในสระว่ายน้ำ แคลเซียม แมงกานีส ซิลิสิค แอซิด) 2 กรัมร่วมกับ แซนโธไนท์ (สารสกัดจากเปลือกมังคุด)  2 ซี.ซี. ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นให้เปียกชุ่มโชกทั้งใต้ใบบนใบ เพื่อล้างใบและทำลายสปอร์ของเชื้อราตั้งแต่เริ่มแรก มิให้ลุกลามแผ่ขยายเป็นวงกว้างออกไป และในกรณีที่มีการลุกลามและมีการเข้าทำลายของเชื้อราจนเกิดโรคแล้ว สามารถใช้เชื้อบีเอสพลายแก้ว 5 กรัม หมักกับน้ำมะพร้าวอ่อน 1 ผลหรือนมรสหวาน ยูเฮชทีหรือ นมถั่วเหลือง 1 กล่อง หรือใช้อย่างใดอย่างหนึ่ง หมักทิ้งไว้ 24 – 48 ชั่วโมง นำมาผสมน้ำ 20 ลิตรฉีดพ่น สลับกับไตรโคเดอร์ม่าละเอียด ก็ช่วยรักษาโรคที่มากับความหนาวได้ดี

 

มนตรี  บุญจรัส

ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ  www.thaigreenagro.com

การใช้โพลิเมอร์กับไม้เพาะชำไม้กระถาง

January 15, 2009

ไม้ดอกไม้ประดับ ไม้กระถาง ไม้ชำต่าง ๆ มักจะมีปัญหาเรื่องการให้น้ำ เนื่องมาจากปริมาณวัสดุปลูกที่มีอยู่จำกัด ปริมาณน้อยตามขนาดของกระถางหรือถุงเพาะชำ ทำให้การดูดซับกักเก็บน้ำมีประสิทธิภาพน้อยตามลงไปด้วย เมื่อรดน้ำก็จะไหลซึมผ่านวัสดุปลูกออกนอกถุงไม่สามารถเก็บน้ำไว้ได้มากนัก ส่งผลทำให้การใช้น้ำค่อนข้างจะสิ้นเปลือง เพราะต้องคอยรดน้ำอยู่บ่อยๆ ทำให้สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในเรื่องน้ำอย่างมากมาย หรือจะใช้ถาดรองไว้ด้านล่างก็ต้องรดน้ำในปริมาณที่มาก และเมื่อน้ำส่วนเกินขังที่ถาดรองก็จะทำให้เกิดยุงแพร่ระบาดก่อให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ตามมาอีกมากมาย

การแก้ปัญหาควรปรับปรุงดินและวัสดุปลูกให้มีความสามารถในการอุ้มน้ำได้มากขึ้น โดยการนำดินที่ผสมตามสูตรเดิมคือพยามหาส่วนประกอบหรือสูตรที่มี ดิน อินทรีย์วัตถุและภูไมท์หรือภูไมท์ซัลเฟตร่วมอยู่ด้วยประมาณ 5-6 ส่วนคลุกผสมร่วมกับโพลิเมอร์ที่แช่จนพองตัวเต็มที่แล้ว (โพลิเมอร์1 กิโลกรัม สามารถพองขยายตัวได้ประมาณ 200 เท่า) อีก 1 ส่วน คลุกเคล้าให้เข้ากันก่อนที่จะนำไปใส่กระถางหรือถุงชำ เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับปลูก

ผลที่ได้รับจะทำให้อัตราการรอดสูง การเจริญเติบโตมีความสม่ำเสมอ รากจะเจริญเติบโตมากขึ้นโดยเฉพาะในระดับชั้นที่มีโพลิเมอร์คลุกผสมเพราะได้รับอย่างเพียงพอและต่อเนื่อง  เวลาจะถอนไปปลูกหรือชำต่อก็ง่ายสะดวกสบาย ประหยัดค่าแรงงานและค่าน้ำ พืชงามทนเหมาะสำหรับ ไม้ดอกไม้ประดับ ไม้ใบ ปาล์ม ยาง ไม้ผล ต่างๆ

 

มนตรี   บุญจรัส

ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ www.thaigreenagro.com

ฤดูหนาว : แก้ปัญหามะลิไม่ออกดอกแบบปลอดสารพิษ

December 4, 2008

มะลิจัดเป็นไม้ดอกที่ยังคงความนิยมในปัจจุบันเป็นอย่างมาก เพราะเป็นพืชที่ได้รับความนิยมและอยู่คู่คนไทยมาช้านาน แถมยังจัดเป็นไม้มงคลที่ใช้เป็นสัญลักษณ์ในวันแม่ จึงยังคงทำให้มีผู้ปลูกมะลิออกจำหน่ายอยู่เป็นจำนวนมาก เนื่องด้วยความนิยมและประโยชน์ของดอกมะลิที่มีความต้องการอย่างต่อเนื่องนี้เอง จึงทำให้มีผู้ที่นิยมปลูกมะลิไว้คอยตอบรับกับความต้องการของตลาดกันอย่างต่อเนื่องและยาวนานเกือบตลอดทั้งปี

ปัญหาของผู้ที่ปลูกมะลิพบกันส่วนมากจะเป็นปัญหาการออกดอกที่น้อยลงในฤดูหนาว ทั้งที่ความต้องการของดอกมะลิยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่องแต่ผลผลิตออกสู่ตลาดกลับน้อยเกินไปส่งผลให้ราคาแพง นับว่าเป็นสิ่งที่น่าเสียดายอย่างยิ่งในโอกาสทองเช่นนี้ของเกษตรกรผู้ปลูกมะลิ เนื่องด้วยปัญหาสภาพอากาศที่หนาวเย็นทำให้การผลิตฮอร์โมนที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตในส่วนของการแตกใบอ่อนและการออกดอกน้อยลง โดยมะลิจัดได้ว่ามีความอ่อนไหวต่อสภาพภูมิอากาศที่หนาวเย็นเป็นอย่างมาก ฮอร์โมนที่จำเป็นดังกล่าวคือ จิบเบอเรลลิค แอซิด, แนพธิล อะซิติค แอซิด ซึ่งถ้ามีการดูแลบำรุงรักษาให้อาหารอย่างถูกต้องตั้งแต่เริ่มแรกปัญหานี้ก็จะน้อยลง เพราะมะลิสามารถที่จะผลิตฮอร์โมนเหล่านี้ได้เองและเพียงพอต่อความต้องการใช้

อีกหนึ่งปัญหาคือหนอนเจาะดอกซึ่งจะส่งผลให้ดอกของมะลิเป็นสีม่วง และเป็นปัญหาที่ผู้ปลูกส่วนใหญ่มักจะไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริงว่าเกิดจากสาเหตุอะไรกันแน่ที่ทำให้ดอกของมะลิเกิดสีเช่นนี้ได้ การที่หนอนเข้าไปกัด เจาะ ทำลายท่อน้ำท่ออาหารจากกิ่งและก้านดอกที่โดยปรกติทำหน้าที่ลำเลียงสารอาหารที่จำเป็นในการสร้างฮอร์โมนและการสร้างสีขึ้นไปเลี้ยงยังกลีบและช่อดอก ทำให้เกิดการตัดขาดสารอาหารที่จำเป็นในการผลิตฮอร์โมนที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตต่าง ๆ ไป ส่งผลทำให้ดอกอยู่ในสภาพที่ขาดสารอาหารและฮอร์โมนจนเกิดความผิดปรกติและฟ้องผู้ปลูกมะลิโดยการเปลี่ยนสีแทน (เพราะมะลิเข้าพูดไม่ได้ จึงต้องฟ้องเจ้าของด้วยการเปลี่ยนสีให้เห็น)

วิธีการแก้ปัญหาในแนวทางปลอดสารพิษและประหยัดต้นทุน จึงไม่แนะนำให้ใช้ฮอร์โมนโดยตรงเพราะถ้าฉีดบ่อยก็ยุ่งยากและสิ้นเปลือง หรือใช้น้อยไปก็ไม่ได้ผล การฉีดพ่นในอัตราส่วนที่เข้มข้นมาก ๆ พืชเขาก็ไม่สามารถที่จะรับได้ทันทีทั้งหมด จะพยายามสลายฮอร์โมนให้ลดเหลือตามปรกติที่เคยดูดซึมได้เท่านั้น ทำให้วิธีการนี้ใช้ไม่ค่อยได้ผล ควรใช้วิธีการฉีดพ่นสารอาหารในกลุ่มจุลธาตุเพื่อให้เขาผลิตฮอร์โมนไว้ใช้เอง ซึ่งจะส่งผลที่ดีกว่าการนำฮอร์โมนมาฉีดพ่นโดยตรงเป็นอย่างมาก คือให้นำ ไวตาไลเซอร์ 5 กรัม หรือ          ไรซ์กรีนพลัส 50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตรฉีดพ่นทุก ๆ 7 วัน ร่วมกับปุ๋ยทีมีตัวกลางสูง ๆเช่น 0-52-34, 10-52-17

ส่วนปัญหาในเรื่องของหนอนเจาะดอก ให้ใช้สมุนไพรไทเกอร์เฮิร์บ ฉีดพ่นเพื่อป้องกันการวางไข่ของแม่ผีเสื้อกลางคืนและแมลงศัตรูพืชอื่นๆ ที่จะเข้ามาอาศัยวางไข่ และให้ใช้ เชื้อบีทีชีวภาพ 5 กรัมหมักสูตรไข่ไก่ 5 ฟอง, สเม็คไทต์ 5 ช้อนแกง, น้ำมันพืช 5 ช้อนแกง กับน้ำ 20 ลิตร อัดอากาศให้ออกซิเจน 24 – 48 ชั่วโมง นำมาผสมกับน้ำ 80 ลิตร หรือจะใช้สูตร เชื้อบีทีชีวภาพ 5 กรัมร่วมกับ น้ำมะพร้าวอ่อน 1 ผล หรือนมยุเฮชที, นมถั่วเหลือง 1 กล่อง หมักทิ้งไว้ในเวลาที่เท่ากับผสมน้ำ 20 ลิตรฉีดพ่นทุก ๆ 7 วัน เพื่อทำลายหนอนเจาะดอกในแปลงปลูกมะลิ ซึ่งวิธีการทั้งหมดนี้จะช่วยแก้ไขปัญหาต่างๆ ของผู้ปลูกมะลิให้หมดไปได้

สนใจและต้องการปรึกษาข้อมูลเพิ่มเติมโทร.ติดต่อกับเจ้าหน้าที่ชมรมเกษตรปลอดสารพิษได้ที่ 0-2986-1680-2

 

มนตรี     บุญจรัส

www.thaigreenagro.com

การดูแลรักษา อโกลนีม่า ในหน้าฝน

December 4, 2008

ไม้มงคลที่ได้รับความนิยมอีกชนิดหนึ่งก็คืออโกลนีม่า หรือ แก้วกาญจนา จัดได้ว่าเป็นไม้ประดับที่ทรงคุณค่าและราคาค่อนข้างสูงอยู่พอสมควร หรือจะเป็นด้วยสาเหตุอันนี้นี่เองที่ทำให้ความนิยมใน อโกลนีมายังไม่แพร่หลายเท่าใดนัก เพราะปัจจุบันยังคงเป็นเพียงพืชที่ได้รับความสนใจอยู่เพียงเฉพาะกลุ่ม โดยเฉพาะกลุ่มเศรษฐีที่มีอันจะกิน

 

ถึงอย่างไรก็ตามความต้องการและความสนใจในต้นอโกลนีมากับผู้เพาะเลี้ยงไม้ประดับโดยทั่วไปก็ยังคงมมีจำนวนเพิ่มขึ้นอยู่เสมอ ด้วยความที่เป็นไม้ใบที่มีความหลากหลายทางสีสันผนวกกับชื่อที่เป็นศิริมงคลจึงเหมาะที่จะนำไปประดับประดาตกแต่งในสำนักงาน อาคารบ้านเรือนและยังนิยมนำไปเป็นของฝากของขวัญให้แก่กันในเทศกาลพิเศษต่าง ๆ

 

การปลูกและดูแลรักษาไม้ใบตระกูล อโกลนีม่า จะต้องมีความเข้าใจและเอาใจใส่อยู่มากเหมือนกัน เพราะจัดเป็นพืชที่เจริญเติบโตได้ดีในที่แสงสว่างไม่มากเกินไป ออกจะชอบรำไรเสียมากกว่า ทนแล้งและไม่ชอบอากาศที่ชื้นมากเกินไป โรคที่รบกวนและรุมเร้าเป็นสำคัญคือโรคที่เกี่ยวกับเชื้อรา โดยเฉพาะโรครากเน่าโคนเน่า ควรจะต้องดูแลวัสดุปลูกให้มีการระบายถ่ายเทน้ำได้ดีอยู่เสมอไม่ควรชื้นแฉะ  ส่วนในเรื่องของเชื้อราทางใบก็เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น ใบจุด ใบด่าง ใบไหม้ ใบช้ำ ใบเน่า อันมีสาเหตุมาจากเชื้อราในกลุ่มของ              ไฟท็อปธอร่า, สเคลอโรเทียม, พิธเทียม, ไรซ็อกโทเนีย และฟิวซาเรียม  เป็นต้น

 

คุณศิริ  มีมา บ้านเลขที่ 57/3  หมู่ 1 ถนนบางกรวย- ไทรน้อย  ต. บางรักพัฒนา  อ. บางบัวทอง  จ. นนทบุรี  11110  ได้ทำเพาะเลี้ยงอโกลนีม่าเป็นงานอดิเรก  ได้เข้ามาปรึกษา กับทางชมรมเกษตรปลอดสารพิษว่า  จะมีวิธีการดูแล พืชอย่างไร ในหน้าฝนนี้  และได้เจอปัญหา ใบเน่า รากเน่า จนได้รับความเสียหายเป็นอย่างมาก    ซึ่งเดิมที  คุณศิริ ได้ใช้ภูไมท์ซัลเฟต คลุกผสม กับดินก้ามปู 1 ส่วน มะพร้าวสับ 1 ส่วน  ปุ๋ยคอก 1 ส่วน  และหลังจากปลูกได้ใช้ไตรโคเดอร์ม่าโรยรอบโคนต้น เพื่อป้องกันปัญหารากเน่าโคนเน่าทำให้หมดปัญหาในเรื่องของเชื้อโรคทางดินไปอย่างหนึ่ง  ส่วนปัญหาทางทางใบ ซึ่งในระยะที่ฝนตกชุก ความชื้นสูง เหมาะต่อการแพร่ระบาดของเชื้อราเป็นอย่างยิ่ง นักวิชาการจึงได้ให้คำแนะนำไปว่าให้ใช้ บีเอสพลายแก้ว 5 กรัม (1 ช้อนชา)  หมักกับน้ำมะพร้าว 1-2 วัน  แล้ว ฉีดพ่น  ทุก ๆ 3 วันติดต่อกัน 3-4 ครั้ง  ในช่วงที่ระบาดมาก  ซึ่งเชื่อจุลินทรีย์บีเอสพลายแก้ว สามารถป้องกัน และกำจัด เชื้อราที่ใบอโกลนีมาได้เป็นอย่างดี  หลังจากใช้บีเอสพลายแก้วแล้ว  ปัญหาใบจุด ใบเน่า ก็หมดไป  ต้นอโกลนีม่า ก็ออกสีใบที่สวยงาม  ถึงแม้สายฝนที่โปรยปรายลงมาจะนำพาสปอร์ของเชื้อราโรคพืชมาด้วยก็สบายใจหายห่วง เพราะบีเอสพลายแก้วสามารถที่จะป้องกันและรักษาได้

 

มนตรี    บุญจรัส

www.thaigreenagro.com

ดูแลไม้กระถางอย่างไร ไม่ต้องเปลี่ยนดินบ่อย

December 4, 2008

ผู้ที่ปลูกไม้ในกระถางส่วนใหญ่  เมื่อปลูกไปได้สักระยะหนึ่งมักจะมีปัญหาหน้าดินกระด้าง แห้งแข็ง  ดินชั้นล่างก็เหนียวแน่นไม่โปร่ง ร่วนซุย  การระบายถ่ายเทน้ำไม่ดี  ดินแฉะก่อให้เกิดปัญหารากเน่าโคนเน่า  ต้นไม้เครียด การเจริญเติบโตไม่ดี อ่อนแอต่อโรคและแมลง ทำให้ต้องสิ้นเปลืองเงินทองนำมาบำรุงรักษาเพิ่มเติมมากขึ้น ที่เป็นเช่นนี้เพราะผู้ผลิตดินถุงจำหน่ายส่วนมากผลิตดินได้ต่ำกว่ามาตรฐานไม่เหมือนในสมัยก่อนที่มีการใช้อินทรียวัตถุมาเป็นส่วนผสมค่อนข้างมาก จึงมักไม่ค่อยมีปัญหาในเรื่องนี้กันมากเท่าไรนัก แต่ในปัจจุบันเจ้าของดินทั้งหลายอาจจะขาดแคลนอินทรีย์วัตถุหรืออินทรียวัตถุอาจจะหายากและมีราคาแพง จึงทำให้คุณภาพดินถุงในปัจจุบันไม่ดีเท่าที่ควร เพราะรู้สึกว่าจะมีแต่ดินเหนียวผสมกับขี้เถ้าแกลบเป็นส่วนมาก ทำให้ผู้ที่นิยมซื้อดินถุงทั้งหลายมาปลูกไปได้สักระยะหนึ่งก็จะมีปัญหาดินเหนียวแน่นแข็ง การระบายถ่ายเทน้ำไม่ดี ต้นไม้ทำท่าว่าจะตาย  ก็ต้องรีบทำการซื้อดินถุงมาเปลี่ยนกันอยู่บ่อยๆ

 

ควรมีการเตรียมและปรับปรุงดินที่ซื้อมาใหม่ๆ ให้ดีเสียก่อน  ควรนำมาคลุกผสมกับปุ๋ยหมักปุ๋ยคอก เพื่อเป็นการเพิ่มอินทรียวัตถุให้แก่ดินอย่างพอเพียง เพราะดินที่เราซื้อมานั้นอาจจะมีอินทรีย์วัตถุอยู่น้อยเกินไป และเหมือนกับเป็นการเติมอาหารให้แก่จุลินทรีย์เพื่อดึงดูดให้จุลินทรีย์เข้ามาสร้างกิจกรรมเพิ่มมากขึ้นจะช่วยทำให้ดินมีชีวิตชีวาปลูกอะไรก็จะเจริญเติบโตงอกงามดี ควรใช้ภูไมท์ซัลเฟตถุงสีเหลืองคลุกผสมกับดินก่อนที่จะนำไปใส่กระถางในอัตรา 1 ส่วน 4 ของดินที่จะปลูกในกระถาง จะช่วยทำให้ดินในกระถางมีโครงสร้างดินที่ดีไม่ย่อยสลายยุบตัวลงแน่นแข็งรวดเร็วเกินไป  ทำให้การระบายถ่ายเทน้ำพอเหมาะพอดีไม่มากเกินไปและน้อยจนเกินไป ช่วยทำให้ต้นไม้ไม่เครียด มีรากเยอะ การเจริญเติบโตสมบูรณ์แข็งแรง

 

หลังจากที่ได้นำต้นไม้ปลูกลงไปในกระถางเรียบร้อยแล้วสักระยะหนึ่ง ถ้าเจอปัญหาดินแน่นแข็งเพราะโครงสร้างดินเสีย หรือดินถุงที่ซื้อมาคุณภาพไม่ดี จับตัวกันเป็นก้อนเหนียวซึ่งโดยปรกติในปัจจุบันมักจะเป็นเช่นนี้เสมอ  ควรทำการแก้ไขโดยวิธีการดังนี้ ทุกครั้งที่มีการรดน้ำควรจะนำสารละลายดินดาน  30 ซี.ซี.  บวกกับ  โพแทสเซียมฮิวเมท  5 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร  ผสมร่วมลงไปทุกครั้ง     จะช่วยทำให้ดินในกระถางของเราไม่แน่นแข็ง และเหนียวแน่น การระบายถ่ายเทน้ำดี จะช่วยทำให้เกิดโครงสร้างที่เกิดเป็นเม็ดดินที่อุ้มน้ำอุ้มปุ๋ยได้ดี ปรับความเสถียรของพีเอชดินไม่ให้เปลี่ยนเป็นกรดหรือด่างเร็วเกินไป  ปรับเปลี่ยนสารอาหารที่อยู่ในดินให้อยู่ในรูปคีเลททีพืชสามารถดูดกินหรือนำไปใช้ไปได้ง่ายขึ้น แล้วยังช่วยลดการสูญเสียปุ๋ยที่ใส่ลงไป เพราะโพแทสเซียมฮิวเมท มีค่าความสามารถในการจับตรึงและแลกเปลี่ยนประจุบวกมากกว่าดินเหนียวถึง 20 เท่า ดังนั้นทุกครั้ง หรืออย่างน้อยอาทิตย์ละครั้ง ถ้าใส่ทั้งสองตัวนี้ผสมลงไปกับน้ำด้วยจะทำดินของเราไม่เหนียวแน่นแข็ง ทำให้ต้นไม้ของเราเจริญเติบโตอย่างสมบูรณ์แข็งแรง และไม่เสียเวลาเปลี่ยนดินในกระถางบ่อยๆ  ทำให้เราประหยัดทั้งเงินและยังมีความสุขกับไม้กระถางที่เลี้ยงไว้อย่างสวยงามตลอดไป

 

มนตรี   บุญจรัส
 
 

ปลูก “หน้าวัว” ปลอดสารพิษที่อำเภอปากช่อง

December 4, 2008

อำเภอปากช่อง จัดเป็นอีกพื้นที่หนึ่งของประเทศไทยที่มีชื่อเสียงในเรื่องของสภาพภูมิอากาศที่สดชื่น เย็นสบาย เป็นที่ต้องการของผู้ที่อยู่ในวัยหลังเกษียนมาจับจองซื้อไว้เป็นสถานที่ผักผ่อนหย่อนใจกันเป็นจำนวนมาก หรือไม่ก็อีกพวกหนึ่งที่ต้องการมาเพื่อหลบหลีกจากปัญหามลภาวะในเมืองหลวงซึ่งมีแต่หมอกควันจากไอเสียรถยนต์ กลิ่นของน้ำที่เน่าเสีย และมลพิษต่างๆ  อีกมากมาย ที่มักจะไม่ใช่ปัจจัยที่จะช่วยส่งเสริมให้ร่างกายได้รับความสดชื่น แจ่มใส แข็งแรงและปลอดภัยจากโรคภัยไข้เจ็บใด ๆ ได้เลย  มีแต่จะซ้ำเติมเพียงอย่างเดียวเท่านั้น

 

เนื่องจากมีสภาพภูมิอากาศที่ค่อนดีข้างเย็นสบาย จึงมีเกษตรกรที่ตั้งใจทำสวนองุ่น ปลูกข้าวโพด ข้าวบาเล่ย์ ไม้ดอกไม้ประดับต่าง ๆ กันอยู่เป็นจำนวนมาก และโดยเฉพาะไม้ดอกไม้ประดับที่มีชื่อว่า  หน้าวัว ( Anthurium)  ซึ่งจัดเป็นพันธุ์ไม้ตัดดอกที่อยู่ในตระกูล Araceae  แม้ว่าในปัจจุบันมักจะไม่ค่อยโด่งดังเหมือนดังแต่ก่อน แต่ก็ยังเป็นที่นิยมกันอยู่ตลอดกาลสำหรับผู้ที่นิยมชมชอบ และยังเป็นที่ต้องการของตลาดอยู่เสมอมา เพราะสามารถที่จะส่งออกไปยังต่างประเทศได้

 

คุณธนา  โปรเทียรณ์  อยู่ที่บ้านเลขที่  14  หมู่  7  ตำบล พญาเย็น  อำเภอ  ปากช่อง   จังหวัด นครราชสีมา   โทร.  08-365-7792  ซึ่งเป็นอีกผู้หนึ่งที่นิยมชมชอบ หน้าวัว เป็นชีวิตจิตใจ และได้พัฒนาปรับปรุงวิธีการดูแลรักษาจนมาเป็นระบบปลอดสารพิษ ไม่ใช้ยาฆ่าแมลง  โดยจะใช้ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มของหินแร่ภูเขาไฟ เช่น ภูไมท์, ภูไมท์ซัลเฟต เป็นวัตถุดิบผสมร่วมกับวัสดุปลูก และใช้ ไคโตซาน Mt ช่วยในเรื่องการบำรุงเร่งการเจริญเติบโต สร้างภูมิคุ้มกันต้านทานเชื้อรา  ส่วนปัญหาในเรื่องของเชื้อราทางใบและดอก คุณธนา จะนิยมชมชอบใช้ ไตรโคเดอร์ม่า ในการช่วยป้องกันรักษาเชื้อราทางใบเป็นพิเศษ โดยวิธีการฉีดพ่น เพราะปรกติแล้วนักวิชาการจากชมรมเกษตรปลอดสารพิษ จะแนะนำให้ใช้ ฟังก์กัสเคลียร์ 2 กรัม และ แซนโธไนท์ 2 ซี.ซี. ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นสลับกับ เชื้อบีเอสพลายแก้วที่หมักขยายแล้ว ทุกๆ 7 วัน แต่คุณธนาแจ้งว่า ใช้ไตรโคเดอร์ม่า ก็แก้ปัญหาโรคเชื้อราทางใบได้ยอดเยี่ยมดีแล้ว  ซึ่งก็ถือว่าเป็นเทคโนโลยีการเกษตรปลอดสารพิษอีกขั้นหนึ่งของผู้ที่นิยมชมชอบการปลูกไม้ดอกไม้ประดับแบบปลอดสารพิษ และทำได้จริง ๆ

 

มนตรี   บุญจรัส

www.thaigreenagro.com

วิธีแก้ปัญหาเชื้อราในกล้วยไม้

December 4, 2008

กล้วยไม้ จัดเป็นพืชที่ดูแลรักษาค่อนข้างยากเพราะบอบบาง อ่อนแอ ไม่ทนทานต่อโรคและแมลงสักเท่าไร ดังนั้นผู้ที่จะปลูกจะต้องเป็นผู้ที่มีใจรักในพืชชนิดนี้อยู่พอสมควรเลยนะครับ เพราะจะต้องมีความทรหดอดทนในการเอาใจใส่ในการดูแลอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ได้กล้วยไม้ที่มีความสวยสดงดงาม และทำให้สภาพต้นมีความอุดมสมบูรณ์และเกลี้ยงเกลาสะอาดตาเป็นที่เจริญหูเจริญตาของคนที่ผ่านมาผ่านไป และที่สำคัญจะต้องทำให้มีดอกออกมาให้ได้ชื่นชมด้วย ไม่ใช่ว่าปล่อยให้ถูกหนอน โรคและแมลงเข้าทำลายจนเสียหายยับเยินไม่ผลิดอกออกผลดูแล้วไม่งามตา จะอวดเพื่อนฝูงที่มาเยี่ยมเยียนที่บ้านบ้างก็ไม่ได้ เพราะไม่น่าจะมีความภูมิใจสักเท่าไรถ้ากล้วยไม้ที่เลี้ยงไว้แครแกร็นใบแหว่งเว้าดูแล้วไม่สวยงามและสมบูรณ์

 

ปัญหาที่นักเพาะกล้วยไม้ทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นมือสมัครเล่นหรือมืออาชีพที่พบกันส่วนมากและเป็นเรื่องที่เราจะนำมาพูดคุยกันในที่นี้ก็คือเรื่องของเชื้อราต่าง ๆที่เข้ามารบกวนกล้วยไม้ เ ช่น โรคใบจุด ใบไหม้ ใบด่าง และอื่นๆ อีกมากมาย ต้นเหตุของปัญหานี้มีสาเหตุมาจากเชื้อราเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งลักษณะอาการของโรคและบาดแผลที่พบก็จะแตกต่างกันไปตามแต่ละสายพันธุ์ของเชื้อราที่เข้าทำลาย     แต่ถ้ามองในสภาพโดยรวมก็ไม่แตกต่างกันสักเท่าไร

 

วิธีการดูแลรักษามิให้เชื้อราเข้าทำลายกล้วยไม้ของเราได้อย่างง่ายดายก็โดยการใช้ภูไมท์ซัลเฟต 3 ขีด ผสมน้ำ 20 ลิตรทำการราดรดไปที่รากและต้นของกล้วยไม้อยู่เสมอจะทำให้กล้วยไม้ได้รับซิลิก้าจากภูไมท์ซัลเฟต และสมสมไว้ที่ผนังเซลล์เพิ่มขึ้นอยู่เสมอจนมีความแข็งแกร่งเพียงพอต่อการเข้าทำลายของเชื้อรา และควรใช้ ไคโตซานMt  5 ซี.ซี. ต่อน้ำ 20 ลิตร หรืออาจจะผสมพร้อมไปกับปุ๋ยที่ฉีดพ่นกล้วยไม้อยู่แล้วก็ได้  จะทำให้เกิดการสร้างภูมิคุ้มกันเชื้อราได้อย่างสมบูรณ์แบบ

 

ในกรณีที่มีเชื้อราได้เขาทำลายเซลล์และเนื้อเยื้อของกล้วยไม้แล้วเราก็จะสามารถที่จะใช้  ฟังก์กัสเคลียร์  2 กรัม ร่วมกับ แซนโธไนท์ 2 ซี.ซี. ผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่น 3 7 วันครั้ง ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของการระบาด  ถ้ามีความเสียหายมากก็ให้ทำการฉีดพ่น 3 วันครั้ง แต่ถ้าต้องการฉีดพ่นเพื่อล้างใบหรือทำลายสปอร์ปรกติก็ให้ฉีดพ่น 7 วันครั้ง   ในกรณีที่ใช้แล้วยังมีเชื้อราที่ทำลายหลงเหลืออยู่สามารถนำ จุลินทรีย์ บีเอสพลายแก้ว  5 กรัมหมักกับน้ำมะพร้าวอ่อน 1 ผล หรือ นมยูเฮชที รสหวาน 1 กล่อง  หมักทิ้งไว้ 24  และไม่เกิน 48  ชั่วโมง   แล้วนำมาผสมกับน้ำ 20 ลิตรฉีดพ่น ก็จะทำให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลต่อการป้องกันและกำจัดเชื้อราในกล้วยไม้ได้อย่างดียิ่ง

 

มนตรี   บุญจรัส

www.thaigreenagro.com

ฤดูหนาว : แก้ปัญหามะลิไม่ออกดอกแบบปลอดสารพิษ

December 4, 2008

มะลิจัดเป็นไม้ดอกที่ยังคงความนิยมในปัจจุบันเป็นอย่างมาก เพราะเป็นพืชที่ได้รับความนิยมและอยู่คู่คนไทยมาช้านาน แถมยังจัดเป็นไม้มงคลที่ใช้เป็นสัญลักษณ์ในวันแม่ จึงยังคงทำให้มีผู้ปลูกมะลิออกจำหน่ายอยู่เป็นจำนวนมาก เนื่องด้วยความนิยมและประโยชน์ของดอกมะลิที่มีความต้องการอย่างต่อเนื่องนี้เอง จึงทำให้มีผู้ที่นิยมปลูกมะลิไว้คอยตอบรับกับความต้องการของตลาดกันอย่างต่อเนื่องและยาวนานเกือบตลอดทั้งปี
ปัญหาของผู้ที่ปลูกมะลิพบกันส่วนมากจะเป็นปัญหาการออกดอกที่น้อยลงในฤดูหนาว ทั้งที่ความต้องการของดอกมะลิยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่องแต่ผลผลิตออกสู่ตลาดกลับน้อยเกินไปส่งผลให้ราคาแพง นับว่าเป็นสิ่งที่น่าเสียดายอย่างยิ่งในโอกาสทองเช่นนี้ของเกษตรกรผู้ปลูกมะลิ เนื่องด้วยปัญหาสภาพอากาศที่หนาวเย็นทำให้การผลิตฮอร์โมนที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตในส่วนของการแตกใบอ่อนและการออกดอกน้อยลง โดยมะลิจัดได้ว่ามีความอ่อนไหวต่อสภาพภูมิอากาศที่หนาวเย็นเป็นอย่างมาก ฮอร์โมนที่จำเป็นดังกล่าวคือ จิบเบอเรลลิค แอซิด, แนพธิล อะซิติค แอซิด ซึ่งถ้ามีการดูแลบำรุงรักษาให้อาหารอย่างถูกต้องตั้งแต่เริ่มแรกปัญหานี้ก็จะน้อยลง เพราะมะลิสามารถที่จะผลิตฮอร์โมนเหล่านี้ได้เองและเพียงพอต่อความต้องการใช้
อีกหนึ่งปัญหาคือหนอนเจาะดอกซึ่งจะส่งผลให้ดอกของมะลิเป็นสีม่วง และเป็นปัญหาที่ผู้ปลูกส่วนใหญ่มักจะไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริงว่าเกิดจากสาเหตุอะไรกันแน่ที่ทำให้ดอกของมะลิเกิดสีเช่นนี้ได้ การที่หนอนเข้าไปกัด เจาะ ทำลายท่อน้ำท่ออาหารจากกิ่งและก้านดอกที่โดยปรกติทำหน้าที่ลำเลียงสารอาหารที่จำเป็นในการสร้างฮอร์โมนและการสร้างสีขึ้นไปเลี้ยงยังกลีบและช่อดอก ทำให้เกิดการตัดขาดสารอาหารที่จำเป็นในการผลิตฮอร์โมนที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตต่าง ๆ ไป ส่งผลทำให้ดอกอยู่ในสภาพที่ขาดสารอาหารและฮอร์โมนจนเกิดความผิดปรกติและฟ้องผู้ปลูกมะลิโดยการเปลี่ยนสีแทน (เพราะมะลิเข้าพูดไม่ได้ จึงต้องฟ้องเจ้าของด้วยการเปลี่ยนสีให้เห็น)
วิธีการแก้ปัญหาในแนวทางปลอดสารพิษและประหยัดต้นทุน จึงไม่แนะนำให้ใช้ฮอร์โมนโดยตรงเพราะถ้าฉีดบ่อยก็ยุ่งยากและสิ้นเปลือง หรือใช้น้อยไปก็ไม่ได้ผล การฉีดพ่นในอัตราส่วนที่เข้มข้นมาก ๆ พืชเขาก็ไม่สามารถที่จะรับได้ทันทีทั้งหมด จะพยายามสลายฮอร์โมนให้ลดเหลือตามปรกติที่เคยดูดซึมได้เท่านั้น ทำให้วิธีการนี้ใช้ไม่ค่อยได้ผล ควรใช้วิธีการฉีดพ่นสารอาหารในกลุ่มจุลธาตุเพื่อให้เขาผลิตฮอร์โมนไว้ใช้เอง ซึ่งจะส่งผลที่ดีกว่าการนำฮอร์โมนมาฉีดพ่นโดยตรงเป็นอย่างมาก คือให้นำ ไวตาไลเซอร์ 5 กรัม หรือ ไรซ์กรีนพลัส 50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตรฉีดพ่นทุก ๆ 7 วัน ร่วมกับปุ๋ยทีมีตัวกลางสูง ๆเช่น 0-52-34, 10-52-17
ส่วนปัญหาในเรื่องของหนอนเจาะดอก ให้ใช้สมุนไพรไทเกอร์เฮิร์บ ฉีดพ่นเพื่อป้องกันการวางไข่ของแม่ผีเสื้อกลางคืนและแมลงศัตรูพืชอื่นๆ ที่จะเข้ามาอาศัยวางไข่ และให้ใช้ เชื้อบีทีชีวภาพ 5 กรัมหมักสูตรไข่ไก่ 5 ฟอง, สเม็คไทต์ 5 ช้อนแกง, น้ำมันพืช 5 ช้อนแกง กับน้ำ 20 ลิตร อัดอากาศให้ออกซิเจน 24 – 48 ชั่วโมง นำมาผสมกับน้ำ 80 ลิตร หรือจะใช้สูตร เชื้อบีทีชีวภาพ 5 กรัมร่วมกับ น้ำมะพร้าวอ่อน 1 ผล หรือนมยุเฮชที, นมถั่วเหลือง 1 กล่อง หมักทิ้งไว้ในเวลาที่เท่ากับผสมน้ำ 20 ลิตรฉีดพ่นทุก ๆ 7 วัน เพื่อทำลายหนอนเจาะดอกในแปลงปลูกมะลิ ซึ่งวิธีการทั้งหมดนี้จะช่วยแก้ไขปัญหาต่างๆ ของผู้ปลูกมะลิให้หมดไปได้
สนใจและต้องการปรึกษาข้อมูลเพิ่มเติมโทร.ติดต่อกับเจ้าหน้าที่ชมรมเกษตรปลอดสารพิษได้ที่ 0-2986-1680-2

มนตรี บุญจรัส
http://www.thaigreenagro.com