การใช้โพลิเมอร์กับไม้เพาะชำไม้กระถาง

ไม้ดอกไม้ประดับ ไม้กระถาง ไม้ชำต่าง ๆ มักจะมีปัญหาเรื่องการให้น้ำ เนื่องมาจากปริมาณวัสดุปลูกที่มีอยู่จำกัด ปริมาณน้อยตามขนาดของกระถางหรือถุงเพาะชำ ทำให้การดูดซับกักเก็บน้ำมีประสิทธิภาพน้อยตามลงไปด้วย เมื่อรดน้ำก็จะไหลซึมผ่านวัสดุปลูกออกนอกถุงไม่สามารถเก็บน้ำไว้ได้มากนัก ส่งผลทำให้การใช้น้ำค่อนข้างจะสิ้นเปลือง เพราะต้องคอยรดน้ำอยู่บ่อยๆ ทำให้สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในเรื่องน้ำอย่างมากมาย หรือจะใช้ถาดรองไว้ด้านล่างก็ต้องรดน้ำในปริมาณที่มาก และเมื่อน้ำส่วนเกินขังที่ถาดรองก็จะทำให้เกิดยุงแพร่ระบาดก่อให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ตามมาอีกมากมาย

การแก้ปัญหาควรปรับปรุงดินและวัสดุปลูกให้มีความสามารถในการอุ้มน้ำได้มากขึ้น โดยการนำดินที่ผสมตามสูตรเดิมคือพยามหาส่วนประกอบหรือสูตรที่มี ดิน อินทรีย์วัตถุและภูไมท์หรือภูไมท์ซัลเฟตร่วมอยู่ด้วยประมาณ 5-6 ส่วนคลุกผสมร่วมกับโพลิเมอร์ที่แช่จนพองตัวเต็มที่แล้ว (โพลิเมอร์1 กิโลกรัม สามารถพองขยายตัวได้ประมาณ 200 เท่า) อีก 1 ส่วน คลุกเคล้าให้เข้ากันก่อนที่จะนำไปใส่กระถางหรือถุงชำ เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับปลูก

ผลที่ได้รับจะทำให้อัตราการรอดสูง การเจริญเติบโตมีความสม่ำเสมอ รากจะเจริญเติบโตมากขึ้นโดยเฉพาะในระดับชั้นที่มีโพลิเมอร์คลุกผสมเพราะได้รับอย่างเพียงพอและต่อเนื่อง  เวลาจะถอนไปปลูกหรือชำต่อก็ง่ายสะดวกสบาย ประหยัดค่าแรงงานและค่าน้ำ พืชงามทนเหมาะสำหรับ ไม้ดอกไม้ประดับ ไม้ใบ ปาล์ม ยาง ไม้ผล ต่างๆ

 

มนตรี   บุญจรัส

ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ www.thaigreenagro.com

Leave a comment