ลีลาวดี กับวิธีแก้ราสนิม

ต้น “ลีลาวดี” พอถูกเปลี่ยนชื่อจาก “ลั่นทม” ก็เกิดความนิยมชมชอบอย่างแพร่หลาย มีการนำไปปลูกประดับตกแต่งตามอาคารบ้านเรือนมากมายหลายสายพันธุ์ซึ่งในอดีตจะพบเห็นได้เฉพาะตามวัดวาอารามและสถานที่ราชการเท่านั้น เนื่องด้วยแต่ก่อนมีชื่อที่ฟังดูไม่ค่อยเป็นมงคลมากนักจึงไม่เป็นที่นิยมปลูก หลังจากเปลี่ยนชื่อใหม่เหตุการณ์ผันไปได้รับความนิยมมากขึ้นตามลำดับตามที่เราได้รับรู้รับทราบในปัจจุบัน ต้นลีลาวดีนี้มีหลากหลายชื่อและเชื่อว่ามีถิ่นกำเนิดมาจากประเทศลาว มีทั้งชื่อ ลั่นทม, ลีลาวดี, จำปา,  จำปาลาวและจำปาขอม

ที่มีชื่อจำปาขอมด้วยก็เพราะมีตำนานที่ไปเกี่ยวข้องกับประเทศเขมร  ซึ่งในอดีตคนไทยเราไปตีเขมร เมืองนครธมและได้นำต้นไม้ชนิดนี้กลับมาด้วยและตั้งชื่อเป็นที่ระลึก “ลั่นทม”สือความหมายว่าไปตีเมืองนครธม (ลั่น” แปลว่า ตี เช่น ลั่นฆ้อง ลั่นกลอง “ธม” หมายถึง “นครธม” ภายหลัง “ลั่นธม” เพี้ยนเป็น “ลั่นทม”) รายละเอียดเพิ่มเติมอีกมากมายท่านผู้อ่านสามารถเข้าไปค้นคว้าหาอ่านได้ที่ วิกิพิเดียกันเอาเองนะครับ

ต้นลีลาวดีนั้นปัญหาที่พบบ่อยคือเรื่องราสนิมมักเกิดขึ้นที่ใบ มีลักษณะเป็นสีเหลืองออกสนิมเป็นปุยผงละเอียด สามารถล่องลอยไปกับสายลมโดยง่ายเมื่อพบเห็นเพียงเล็กน้อย ควรรีบเด็ดใบกิ่งก้านนั้นทิ้งโดยเร็ว มิฉะนั้นจะลุกลามระบาดได้ง่ายในระยะเวลาอันรวดเร็ว ฝุ่นผงละเอียดสีเหลืองที่อยู่เกาะอยู่ที่ผิวใบเป็นหย่อมๆนั้น แท้จริงแล้วคือสปอร์ที่มีเจริญเติบโตของเชื้อราชนิดนั้นหลายวงจรหลายรอบตั้งแต่เริ่มมีการระบาด ในระยะนี้จะรักษายากเพราะสปอร์จะทนทานต่อสภาวะอากาศที่ปรวนแปรและสารเคมีที่นำมาทำลาย ไม่อ่อนแอเหมือนระยะที่แบ่งตัวออกมาเป็นเซลล์และระบาดทำลายใบพืชหรือลีลาวดี

การป้องกันควรใช้ ฟังก์กัสเคลียร์ (ผงจุลสี, ซิลิสิค แอซิด, ทองแดง,แมงกานีส, แคลเซียม) 2 กรัม ร่วมกับ แซนโธไนท์ (สารสกัดจากเปลือกมังคุด สามารถทำได้เองดังสูตรที่เผยแพร่ไว้ในบทความก่อน) ในอัตรา 2 ซี.ซี.  ต่อน้ำ 20 ลิตรฉีดพ่นทุกครั้งหลังฝนตกหรือเริ่มพบว่ามีการระบาดจะช่วยในเรื่องการยับยั้งและทำลายเชื้อราและแบคทีเรียอย่างน้อยฉีดในช่วงแรกๆสักสองสามครั้ง โดยจะเน้นไปที่การทำลายสปอร์ซึ่งเป็นสาเหตุเริ่มต้นทำให้เกิดการระบาดไปยังส่วนอื่นๆได้ง่าย หลังจากนั้นจึงค่อยใช้ ไตรโคเดอร์ม่าชนิดละเอียด หรือบีเอสพลายแก้ว มาทำหน้าที่รักษาและป้องกันอาการของโรคนี้อีกครั้งหนึ่งในลำดับถัดไปในบริเวณที่เกิดโรคและเป็นช่วงของระยะเซลล์ที่กำลังแบ่งตัวลุกลามทำลาย เพราะเชื้อราสนิมนี้การดูแลรักษาทำได้ค่อนข้างยาก พอๆกับที่เราพบในแตงกวาและถั่วฝักยาว อย่างไรตระกูลพืชผักก็ยังยากกว่าเพราะมีอายุการเก็บเกี่ยวที่สั้น

มนตรี  บุญจรัส
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ http://www.thaigreenagro.com

Leave a comment